กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) แต่เดิมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ในชื่อว่า “กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา” เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ทําหน้าที่ดูแลการทําเหมืองแร่ การออกใบอนุญาตเกี่ยวกับการตรวจหาแร่ และทําเหมืองตลอดทั่วราชอาณาจักร ต่อมากรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา หรือ “กรมแร่” ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและกระทรวงต้นสังกัด
หลายครั้งตามยุคสมัย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2485 จึงได้มีการจัดตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม และโอนกิจการ ของกรมราชโลหกิจและภูมิวิทยาเข้ามาสังกัดในชื่อว่า “กรมโลหกิจ” ในปี พ.ศ. 2506 ได้โอนมาสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ภายใต้ชื่อ “กรมทรัพยากรธรณี” และโอนมาสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2516 จนถึงการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยงานด้านแร่ และโลหกรรม ได้แยกตัวออกมาจัดตั้งเป็นหน่วยงานใหม่ตั้งเป็น “กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่” สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งคนทั่วไปจะเรียกชื่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่สั้น ๆ ว่า “กรมเหมืองแร่” มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐาน และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยการกํากับ ดูแล ส่งเสริม และสนับสนุน การประกอบกิจการเหมืองแร่ โลหกรรม และอุตสาหกรรมพื้นฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และการแข่งขัน ภาคอุตสาหกรรมตอบสนองความต้องการใช้อย่างยั่งยืน และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของประชาชน และในปี พ.ศ. 2549 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รับผิดชอบ ภารกิจด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรมด้วย
การปรับโครงสร้างกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ใหม่ นับเป็นการปรับบทบาทภารกิจ ในการ ก้าวไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากแร่และวัตถุดิบอย่างเบ็ดเสร็จ เพื่อสนับสนุน การลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายประเทศไทย 4.0 และอุตสาหกรรม 4.0